Would you like to make this site your homepage? It's fast and easy...
Yes, Please make this my home page!
ศรช.วังน้ำเย็น
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังน้ำเย็น
สภาพทั่วไปและข้อมูลตำบลวังน้ำเย็น
เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตปกครอง
ประชากร โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบการบริหารสาธารณูปการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่การประกอบอาชีพ ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ ด้านสังคม ได้แก่การศึกษา
สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและด้านการเมืองการบริหารได้แก่ โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคคลงบประมาณและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง
ๆ และทรัพยากรธรรมชาติข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา และที่ตั้ง ศรช.วังน้ำเย็น อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น
เป็นองค์การปกครองส่วน
ท้องถิ่น ตั้งอยู่บริเวณอำเภอวังน้ำเย็น อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว อยู่ห่างจากอำเภอ
ประมาณ 100เมตร
มีเนื้อที่รวม 56 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,000 ไร่
องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ.2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 โดยมีนายสุภาพ วุฒิรัตน์
กำนันตำบลวังน้ำเย็น เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง)คนแรก และได้เปลี่ยนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
คือนายศิโรจน์ เอกนิรันดร์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น คนปัจจุบัน
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น
จ.สระแก้ว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ตาหลังใน อ.วังน้ำเย็น
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.วังใหม่ กิ่งอ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 14,485 คน แยกเป็นชาย 5,820 คน เป็นหญิง 8,665 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
3,500 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร 263 คน/ตร.กม.
จำนวนหมู่บ้าน
หมู่บ้านจำนวน 18 หมู่บ้าน จำนวนบ้าน 3,500 หลังคาเรือน
จำนวนประชากรในชุมชน 14,485 คน
ด้านการศึกษา
มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
มีโรงเรียนมัธยมศึกษา(ขยายโอกาศ)จำนวน 1 แห่ง
วิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
ได้แก่ โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคคล เช่นการแบ่งส่วนราชการ การบริหารงานบุคคล
การวางแผนอัตรากำลัง ตลอดจนสถิติงบประมาณของท้องถิ่นและที่รัฐจัดสรรให้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวเสริม ให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการพัฒนา