พัฒนาอาชีพ

พัฒนาอาชีพ
 

แนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ( กพอ. )
“ เร่งรัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพ ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิตให้กับบุคคลและชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน
และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน “
โครงการและกิจกรรมจัดให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ กศน. รับผิดชอบ โดยมีเนื้อหาจุดเน้นสาระ 4 ประการ
1. การพัฒนาทักษะอาชีพ หมายถึง ฝึกทักษะอาชีพในลักษณะหลักสูตรระยะสั้นตอบสนองความต้องการผู้เรียนให้มีความร
ู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2. การฝึกอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ หมายถึง การจัดฝึกอบรมให้ผู้อบรมที่ทักษะอาชีพอยู่แล้วและสนใจเข้าสู่อาชีพ
ให้สามารถประกอบอาชีพได้และมีรายได้
3. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หมายถึง การจัดฝึกอบรมให้ผู้ประกอบอาชีพประเภทเดียวกันให้พัฒนาอาชีพให้ดีขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
4. การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี หมายถึง การฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีให้ผู้อบรมนำมาใช้ในการพัฒนากิจการอาชีพและศักยภาพตนเอง เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการตลาด เทคโนโลยีการผลิต ฯลฯ

   
  วัตถุประสงค์การจัดกลุ่มอาชีพ
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพเดียวกันในชุมชน
ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการใช้ต้นทุนของชุมชนและ
หน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
1. กลุ่มอาชีพเดียวกันไม่น้อยกว่า 20 คน
2.ตรงกับความต้องการและอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรม
อาชีพของชุมชน
3. ชุมชนมีวัตถุดิบเพียงพอที่จะใช้เป็นปัจจัยในการผลิต
4. มีแหล่งกระจายผลผลิตที่แน่นอน

ยุทธศาสตร์
1. การใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศของชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
และอาชีพที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สอดรับกับ ความต้องการ ของกลุ่มอาชีพในชุมชนเป็นฐานข้อมูล
ที่นำไปจัดกระบวนการเรียนรู้
2. การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนหน่วยงานต่าง ๆ และองค์กรท้องถิ่น
มีบทบาทสำคัญในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติและร่วมรับผลประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. การใช้ต้นทุนทางสังคม เน้นการใช้ต้นทุนจากสังคมจาก 6 แห่ง
- ทุนทรัพยากรธรรมชาติ
- ทุนทรัพยากรบุคคล
- ทุนภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้
- ทุนทาง วัฒนธรรม
- ทุนรัฐบาล ( กองทุนหมู่บ้าน
- ทุนทางความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4. หลักการบูรณาการและปฏิบัติจริงในการเรียน การทำงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
โดยร่วมกันคิด ทำ จำ แก้ปัญหา และพัฒนา
5. การใช้กระบวนการกลุ่มในการดำเนินงานคือ มีการทำงานเป็นกลุ่มโดยมีประธานกลุ่ม เลขากลุ่ม
เหรัญญิกกลุ่ม กรรมการกลุ่ม ฯลฯ
 
หน้าหลัก